ต้นไม้ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ชื่อทั่วไป  - กระบก 
ชื่อสามัญ -  Kayu 
ชื่อวิทยาศาสตร์  - rvingia malayana  Oliv. ex A.W. Benn. 
วงศ์  -  SIMAROUBACEAE 
ชื่ออื่นๆ - จะบก, ตระบก, หมากบก, มื่น, มะลื่น, หมักลื่น ,กระบก, กะบก, จำเมาะ , ชะอัง , บก , มะมื่น , หลักกาย 
ถิ่นกำเนิด -  ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ 
ประเภท -  ไม้ยืนต้น 
รูปร่างลักษณะ
- ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10 – 30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบบางทีแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ
-  ใบ เดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก กว้าง 2 – 9 เซนติเมตรยาว 8 – 20 เซนติเมตรผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม
-   ดอกเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน  ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม
-   ผลกลมรี เมื่อสุกสีเหลืออมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน 

การขยายพันธุ์ -  ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด  
สภาพที่เหมาะสม - สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง   ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ แล้งและป่าดิบแล้งทั่วไป สูงจากระดับน้ำทะเล 150 – 300 เมตร 
ประโยชน์ - เนื้อไม้ใช้เผาถ่านได้ถ่านดีให้ความร้อนสูง เนื้อไม้เสี้ยนตรงแข็งมาก ไม่ทนในที่แจ้ง ใช้ทำอาหาร สบู่เทียนไข ผลสุก เป็นอาหารพวกเก้ง กวางและนก 

นาย วัชรพงศ์ พันธไชย สชฟ.1/2 รหัส 6131041021

ความคิดเห็น